วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

Chicken

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
หลังจากที่ผมได้ตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย สิ่งที่ไม่เคยรู้ เช่น หลักในการบริหารจัดการสถานศึกษา คุณธรรม จริยธรรม ในการบริหาร ภาวะผู้นำ ฯลฯ เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในทางการบริหาร มีอะไรอีกมากมายที่ได้เรียนรู้ ดังนั้น ข้าราชการยุคใหม่อย่าคิดแบบน้ำเต็มแก้วตลอดเวลา ต้องคิดแบบน้ำล้นแก้วและน้ำพร่องแก้ว มีอยู่ 2 ทางถ้าเราไม่เจ๋งพอ เราก็คิดแบบน้ำพร่องแก้ว เพราะเราจะได้ความรู้มาเติมเต็ม และถ้าหากต้องการไปมากกว่าเดิม ก็คิดแบบน้ำล้นแก้ว ถ้าเป็นน้ำเต็มแก้ว มันก็ไม่รู้จะไปไหนต่อแล้ว อย่าไปคิดว่าเมื่อเรามีความรู้เยอะๆ แล้วมีคนมาสอบถามเยอะๆ ไม่ต้องไปกลัวว่า เขาจะมาแย่งอาชีพเรา หรือมาแย่งความรู้ของเรา ถ้าเขา Born to be ถึงเราไม่ต้องบอกเขา เขาก็ต้องเกิดมาในแวดวงตรงนี้อยู่แล้ว มาแชร์ความรู้สึกที่ดีต่อกันไม่ดีกว่าหรือ สิ่งสำคัญการที่สุดการเป็นข้าราชการต้องมี คุณธรรม และจริยธรรม ตลอดเวลา
คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ คือ การใช้หลักธรรมปฏิบัติในการบริหารงานทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูง ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง โดยการปกครองและบริหารที่ดี (Good Governance)

วันเข้าพรรษา



วันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา




          วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น


          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน

ความหมายของจริยธรรม

ภาพประกอบ


จริยธรรม (Ethics)คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้